เมนู

พรรณนา วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ 13



ต่อมาจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง ในที่สุดแห่งหนึ่งพัน
แปดร้อยกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิด 3 พระองค์ คือ พระปิยทัสสี
พระอัตถทัสสี พระธัมมทัสสี ใน 3 พระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิใน
พระครรภ์ของ พระนางจันทาเทวี ผู้มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์ อัคร-
มเหสีของพระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุธัญญวดี ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติออก
จากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วรุณราชอุทยาน ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์
พระชนกชนนีทรงเฉลิมพระนามว่า ปิยทัสสี เพราะเห็นปาฏิหาริย์วิเศษอันเป็น
ที่รักของโลก พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี นัยว่าทรงมีปราสาท 3
หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และ คิริพรหา ปรากฏพระสนมนารีสานหมื่นสาม
พันนาง มี พระนางวิมลามหาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า กัญจนเวฬะ ของพระนางวิมลาเทวีประสูติ
แล้ว พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต 4 แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย
รถเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จ พระมหาบุรุษอันชน
โกฏิหนึ่งนั้น แวดล้อมแล้วพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญเพียร 6 เดือน ในวันวิสาข-
บูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาของ วสภพราหมณ์ บ้านวรุณ-
พราหมณ์
ถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน ทรงรับหญ้า 8 กำที่
สุชาตะอาชีวก ถวายแล้ว เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อว่า กกุธะ ต้นกุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง 53 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิ แทงตลอดพระสัพพัญ-
ณุตญาณ ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นแล้ว ทรงยับยั้ง ณ

โคนโพธิพฤกษ์นั้นนั่นแหละ 7 สัปดาห์ ทรงทราบว่า ผู้ที่บวชกับพระองค์
สามารถแทงตลอดอริยธรรม จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทางอากาศ ลงที่ อุสภวดี
ราชอุทยาน
ใกล้ กรุงอุสกวดี อันภิกษุโกฏิหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศ
พระธรรมจักร ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัย
ครั้งที่ 1
ต่อมาอีก ราชาแห่งเทพ พระนามว่า สุทัสสนะ ประทับอยู่ ณ
สุทัสสนบรรพต ไม่ไกลกรุงอุสภวดี ท้าวเธอเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็พวกมนุษย์
ทั่วชมพูทวีป นำเครื่องสังเวยมีค่านับแสน มาเซ่นสรวงท้าวเธอ ท้าวสุทัสสน-
เทวราชนั้น ประทับบนอาสนะเดียวกันกับพระราชาแห่งมนุษย์ ทรงรับเครื่อง
สังเวย ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ปิยทัสสี ทรงพระดำริว่า จำเราจัก
บรรเทามิจฉาทิฏฐิของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสีย เมื่อท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
เสด็จไปยังสมาคมยักษ์ จึงเสด็จเข้าไปยังภพของท้าวเธอ ขึ้นสู่ที่สิริไสยาสน์
ประทับนั่งเปล่งพระฉัพพรรณรังสีเหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสาวทเปล่งแสงเหนือ
ยุคนธรบรรพต เทวดาที่เป็นบริวารรับใช้ของท้าวเธอ ก็บูชาพระทศพลด้วย
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ยืนแวดล้อม.
ฝ่ายท้าวสุทัสสนเทวราชกลับจากยักขสมาคมเห็นฉัพพรรณรังสีแล่น
ออกจากภพของตนก็คิดว่า ในวันอื่นๆ ไม่เคยเห็นภพของเรา จำเริญรุ่งเรื่อง
ด้วยแสงรัศมีมากมายเช่นนี้ ใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เข้าไปในที่นี้
ตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งรุ่งโรจน์ด้วยแสงพระฉัพพรรณรังสี
ดังดวงอาทิตย์ในฤดูสารทเหนือยอดอุทัยคิรี คิดว่า สมณะโล้นผู้นี้อันชนใกล้
ชิดบริวารของเราแวดล้อมแล้วนั่งเหนือที่นอนอันดี ก็ถูกความโกรธครอบงำใจ
คิดว่า เอาเถิด จำเราจักสำแดงกำลังของเราแก่สมณะโล้นนั้น แล้วก็ทำภูเขา
นั้นทั้งลูกลุกเป็นเปลวไฟอันเดียว ตรวจดูว่าสมณะโล้นคงเป็นเถ้าเพราะเปลวไฟ

แล้ว แต่ก็เห็นพระทศพลมีพระวรกายถูกแสงรังสีมากมาย แล่นท่วมไป มี
พระพักตร์ผ่องวรรณะงาม มีพระฉวีสดใสรุ่งโรจน์อยู่ ก็คิดว่า สมณะผู้นี้ทนไฟ
ไหม้ได้ เอาเถิด จำเราจักรุกรานสมณะผู้นี้ด้วยกระแสน้ำหลากแล้วฆ่าเสีย จึง
ปล่อยกระแสน้ำหลากอันลึกล้ำตรงไปยังวิมาน.
แต่นั้น น้ำก็ไม่เปียกเพียงขนผ้าแห่งจีวร หรือเพียงพระโลมาในพระ-
สรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งประทับนั่งในวิมานนั้น อันเต็มด้วย
กระแสน้ำหลาก แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช รู้ว่า ด้วยกระแสน้ำหลากนี้ สมณะ
หายใจไม่ออก ก็จักตาย จึงเสกมนต์พ่นอัดน้ำแล้วตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาค
เจ้าประทับนั่งอันบริษัทของตนแวดล้อม รุ่งโรจน์ด้วยแสงแลบแห่งเปลวรังสี
ต่างชนิด ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท ส่งแสงลอดหลืบเมฆสีเขียวครามทนการลบ
หลู่ตนไม่ได้ ก็คิดว่า จำเราจักฆ่าสมณะนั้นเสียเถิด แล้วก็บันดาลฝนอาวุธ 9
ชนิด ให้ตกลง ด้วยความโกรธ ลำดับนั้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาค
เจ้าพระองค์นั้น อาวุธทุกอย่างก็กลายเป็นพวงดอกไม้หอมนานาชนิดงามน่าดู
อย่างยิ่ง หล่นลงแทบเบื้องบาทของพระทศพล.
แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช เห็นความอัศจรรย์นั้นก็ยิ่งมีใจโกรธขึ้ง
จึงเอามือทั้งสองจับพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า หมายจะฉุดคร่าออกไปจาก
ภพของตน ก็เหวี่ยงเลยมหาสมุทรไปถึงจักรวาลบรรพต ตรวจดูว่าสมณะยัง
เป็นอยู่หรือตายไปแล้ว ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังคงประทับนั่ง อยู่เหนือ
อาสนะนั้นนั่นแหละ ก็คิดว่า โอ สมณะนี้มีอานุภาพมาก เราไม่สามารถจะฉุด
คร่าสมณะผู้นี้ออกไปจากที่นี้ได้ หากว่าใครรู้เรื่องเรา เราก็จักอัปยศหาน้อยไม่
จำเราจักปล่อยสมณะนั้นไปเสีย ตราบเท่าที่ใครยังไม่เห็นสมณะผู้นี้.
ลำดับนั้น พระทศพลทรงทราบความประพฤติทางจิตของท้าวสุทัส-
สนเทวราชนั้น ก็ทรงอธิษฐานอย่างที่พวกเทวดาและมนุษย์ทุกคนเห็นท้าวเธออยู่

ในวันนั้นนั่นเอง พระราชา 101 พระองค์ทั่วชมพูทวีป ก็พากันมาประชุมเพื่อ
ถวายเครื่องสังเวยแด่ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น พระราชาแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่า
นั้น ทรงเห็นท้าวสุทัสสนเทวราชประทับนั่งจับพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเทวราชขอพรพวกเรา บำเรอ
พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี จอมมุนี โอ ! ธรรมดาพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์ โอ ! พระพุทธคุณทั้งหลาย วิเศษจริง ๆ ก็พากัน
นอบน้อม ยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้าหมดทุกคน ณ สันนิบาตนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีทรงทำท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นให้เป็นประมุข ทรง
แสดงธรรมโปรด ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต
นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ 2.
ครั้งเมื่อศัตรูของพระพุทธเจ้า ในกุมุทนครซึ่งมีขนาด 9 โยชน์ ชื่อ
พระโสณเถระ เหมือนพระเทวทัต ปรึกษากับ พระมหาปทุมราชกุมาร
ให้ปลงพระชนม์พระชนกของพระราชกุมารนั้น แม้พยายามต่างๆ เพื่อปลง
พระชนม์ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ก็ไม่อาจปลงพระชนม์ได้ ท่านจึงเรียก
ควาญพญาช้างชื่อ โทณมุขะ ประเล้าประโลมเขา บอกความว่า เมื่อใด
พระสมณะปิยทัสสีผู้นี้ เข้าไปบิณฑบาตยังนครนี้ เมื่อนั้น ท่านจงปล่อย
พญาช้างชื่อโทณมุข ให้ฆ่าพระสมณะปิยทัสสีเสีย.
ครั้งนั้น นายควาญช้างนั้น เป็นราชวัลลภ ไม่ทันพิจารณาถึง
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้แต่ว่า สมณะผู้นี้จะพึงทำเราให้หลุดพ้นจาก
ตำแหน่งแน่ จึงรับคำ วันรุ่งขึ้นก็กำหนดเวลาที่พระทศพลเสด็จเข้าไปยังพระ-
นครเข้าไปหาพญาช้างโทณมุข ซึ่งมีหน้าผากเหมือนหม้อข้าวเหนือตระพองที่
เกิดดีแล้ว มีลำงวงยาวเสมือนธนู มีหูอ่อนกว้างใหญ่ ตาเหลืองดังน้ำผึ้ง ที่

นั่งบนตัวดี ตะโพกหนาทึบกลมกลึง ระหว่างเข่าเก็บของลับไว้ งางามเหมือน
งอนไถ ขนหางสวย โคนหางน่ายำเกรง สมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกอย่าง
งามน่าดูเสมือนเมฆสีเขียวคราม ไปยังถิ่นที่ราชสีห์ชอบเยื้องกรายเหมือนก้อน
เมฆเดินได้ มีกำลังเท่า 7 ช้างสาร ตกมัน 7 ครั้ง มีพิษทั่วตัว เหมือน
มัจจุมารที่มีเรือนร่างทำให้เมามันมึนยิ่งขึ้น ปรนด้วยวิธีพิเศษเช่นคำข้าวคลุกกำ-
ยานหยอดยาตา รมควัน ฉาบทา เป็นต้น แล้วก็ส่งไปเพื่อต้องการปลงพระชนม์
พระมุนีผู้ประเสริฐ ผู้ป้องกันชนที่เป็นอริได้ เหมือนช้างเอราวัณ ป้องกันช้าง
ข้าศึกฉะนั้น ลำดับนั้น พญาช้างโทณมุขนั้น เป็นช้างพลายตัวดี พอหลุดไป
เท่านั้น ก็ฆ่าช้าง ควาย ม้า ชาย หญิง มีเนื้อตัวพร้อมทั้งงาและงวงเปรอะ
ไปด้วยเลือดของผู้ที่ถูกฆ่า มีตาที่คลุมด้วยข่ายแห่งความตาย หักทะลายเกวียน
บานประตู ประตูเรือนยอด เสาระเนียดเป็นต้น อันฝูงกา สุนัข และ แร้ง
เป็นต้นติดตามไป ตัดอวัยวะของควาย คน ม้า และ ช้างพลาย เป็นต้น
กินเหมือนยักษ์กินคน เห็นพระทศพลอันหมู่ศิษย์แวดล้อม กำลังเสด็จมาแต่
ไกล มีกำลังเร็วเสมือนครุฑในอากาศ นุ่งไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความ
เร็ว.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมือง มีใจเปี่ยมแปร้ไปด้วยความเร่าร้อน เพราะ
ภัย ก็เข้าไปยังซากกองกำแพงแห่งปราสาท เห็นพระยาช้างวิ่งแล่นมุ่งหน้าตรง
พระตถาคตก็ส่งเสียงร้อง ฮ้า ! ฮ้า ! ส่วนอุบาสกบางพวก เริ่มห้ามกันพญา
ช้างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ. ลำดับนั้น คือพระพุทธนาคพระองค์นั้นทรง
แลดูพญาช้าง ซึ่งกำลังมา มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาแผ่ไป ก็ทรงแผ่
พระเมตตาไปยังพญาช้างนั้น. แต่นั้น พญาช้างเชือกนั้น ก็มีสันดานประจำ
ใจอันพระเมตตาที่ทรงแผ่ไปทำให้อ่อนโยนสำนึกรู้โทษและความผิดของตน

ไม่อาจยืนท่อเบ้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ด้วยความละอาย จึง
หมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแทรก
เข้าไปในแผ่นปฐพี. พญาช้างเชือกนั้นหมอบลงอย่างนั้นแล้ว เรือนร่างเสมือน
กลุ่มหมอก ก็เจิดจ้า เหมือนก้อนเมฆสีเขียวความเข้าไปใกล้ยอดภูเขาทองที่ฉาบ
ด้วยแสงสนธยา.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมืองเห็นพญาช้างหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้อง
บาทของพระจอมมุนี ก็มีใจเปี่ยมด้วยปีติอย่างยิ่ง ก็พากันส่งเสียงโห่ร้องสาธุการ
กึกก้องดังเสียงราชสีห์ บูชาพระองค์มีประการต่าง ๆ ด้วยดอกไม้หอม มาลัย
จันทน์จุรณหอมและเครื่องประดับเป็นต้น โยนแผ่นผ้าไปโดยรอบ เทพเภรี
ก็บรรลือลั่นในท้องนภากาศ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพญาช้าง
พลาย ซึ่งหมอบจบเศียรเกล้าแทบเบื้องพระบาท ดั่งยอดเขาที่อาบสีดำ ก็ทรง
ลูบกระพองพญาช้าง ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันประดับด้วยขอช้าง ธง สังข์ และจักร
จึงทรงพร่ำสอนพญาช้างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา ที่เกื้อกูลแก่ความประพฤติ
ทางจิตของพญาช้างนั้นว่า
ดูก่อนพญาช้าง เจ้าจงฟังคำของเราที่พร่ำสอน
และจงเสพคำพร่ำสอนของเรานั้น ซึ่งประกอบด้วย
ประโยชน์เกื้อกูล จงกำจัดความยินดีในการฆ่า ความ
มีจิตร้ายของเจ้าเสีย จงเป็นช้างที่น่ารัก ผู้สงบ.
ดูก่อนพญาช้าง ผู้ใดเบียดเบียนสัตว์มีชีวิต ด้วย
โลภะ และ โทสะ หรือด้วยโมหะผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ฆ่า
สัตว์มีชีวิต ย่อมเสวยทุกข์อันร้ายกาจ ในนรก ตลอด
กาลนาน.

ดูก่อนพญาช้าง เจ้าอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนั้น
ด้วยความประมาท หรือแม้ด้วยความเมาอีกนะ เพราะ
ผู้ทำสัตว์มีชีวิตะที่ตกล่วงไป ย่อมประสบทุกข์แสน
สาหัสในนรกตลอดกัป.
ผู้เบียดเบียนครั้นเสวยทุกข์อันร้ายกาจในนรกแล้ว
ผิว่า ไปสู่มนุษยโลก ก็ยิ่งเป็นผู้มีอายุสั้น มีรูปร่าง
แปลกประหลาด ยังมีส่วนพิเศษแห่งทุกข์.
ดูก่อนกุญชร พญาช้างผู้เบาปัญญา เจ้ารู้ว่า
ชีวิตเป็นที่รักอย่างยิ่งของเจ้าฉันใด ในมหาชนชีวิตแม้
ของผู้อื่นก็เป็นที่รักฉันนั้น แล้วพึงงดเว้นปาณาติบาต
อย่างเด็ดขาด.
ถ้าเจ้ารู้จักโทษที่ไม่เว้นการเบียดเบียน และคุณที่
เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว จงเว้นขาดปาณาติบาตเสีย
ก็ปรารถนาสุขในสวรรค์ในโลกหน้าได้.
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตฝึกตนดีแล้ว ย่อมเป็น
ที่รักที่ชอบใจในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป
พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่า เขาก็อยู่ยั้งใน
สวรรค์.
ใครๆ ในโลก ย่อมไม่ปรารถนาให้ทุกข์มาถึง
ผู้เกิดมาแล้วทุก ๆ คน ย่อมแสวงสุขกันทั้งนั้น ดูก่อน
พญาช้างผู้ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น เจ้าจงละการเบียด
เบียนเสีย เจริญแต่เมตตาและกรุณาในเวลาอันสมควร
เถิด.

ลำดับนั้น พญาช้างอันพระทศพลทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ก็ได้สำนึก เป็น
ผู้ที่ทรงฝึกปรือแล้วอย่างยิ่ง ถึงพร้อมด้วยวินัย แล จรรยา ก็ได้เป็นเหมือน
ศิษย์. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีพระองค์นั้น ทรงทรมานพญาช้างโทณมุข
เหมือนพระศาสดาของเราทรงทรมานช้างธนปาลแล้ว จึงทรงแสดงธรรมโปรด
ในสมาคมแห่งมหาชนนั้น. ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ 3 ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้าก็มีพระสยัมภู
พุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำ
โลก อันเข้าเฝ้าได้ยาก เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มี
ผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีบริวารยศอัน
ประมาณมิได้ รุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่าง ประกาศพระธรรมจักร.
พระพุทธเจ้าผู้มีพระเดช ที่ชั่งไม่ได้แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย 3 ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ 1 ได้มีแก่
สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราชทรงชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิของท้าวเทวราชพระองค์
นั้นแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ 2 ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.

ครั้งพระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน ทรงแนะนำ
พญาช้างชื่อโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ 3 ได้มีแก่สัตว์
แปดหมื่นโกฏิ.

ใน สุมังคลนคร มีสหายสองคน คือพระราชโอรส พระนามว่า ปา-
ลิตะ บุตรปุโรหิต ชื่อว่า สัพพทัสสิกุมาร สองสหายนั้น เมื่อพระปิยทัสสี
สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่ สดับข่าวว่า เสด็จถึงพระนครของพระองค์มี
บริวารแสนโกฏิ ก็ออกไปรับเสด็จ สดับฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ถวาย
มหาทาน 7 วัน ในวันที่ 7 จบอนุโมทนาภัตทานของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมกับบริวารแสนโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 1.
สมัยต่อมา สัตว์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต. ในสมาคมของท้าวสุทัสสนเทวราช
พระศาสดาอันภิกษุสาวกเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้
เป็นสันนิบาตครั้งที่ 2. ต่อมาอีก ในสมัยทรงแนะนำพญาช้างโทณมุข สัตว์
แปดหมื่นโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3. ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ก็ทรงมี
สันนิบาตประชุมพระสาวก 3 ครั้ง พระสาวกแสน
โกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ 1.
พระมุนีสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อมกันเป็น
สันนิบาตครั้งที่ 2 พระสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน
เป็นสันนิบาตครั้งที่ 3.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพพราหมณ์ชื่อ กัสสปะ
เรียนจบไตรเพท ครบ 5 ทั้งอิติหาสศาสตร์ ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ศาสดา ให้สร้างสังฆาราม ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ด้วยการบริจาคทรัพย์แสน
โกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล 5. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์พระ
โพธิสัตว์นั้นว่า ล่วงไป 1,800 กัป นับแต่กัปนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลก
พระนามว่า โคตมะ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ ชื่อว่ากัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ให้สร้างสังฆารามด้วย
ทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจ
ยึดสรณะและศีล 5 ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่าม
กลางสงฆ์ ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เมื่อล่วงไป 1,800 กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อ
หน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี 10
ให้บริบูรณ์.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรเณ ปญฺจสีเล จ ความว่า สรณะ
3 และศีล 5. บทว่า อฏฺฐารเส กปฺปสเต ความว่า ล่วงไป 1,800 กัป
นับแต่ภัตรกัปนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสีพระองค์นั้น ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญ-
ญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระนามว่า พระนาง
สุจันทาเทวี.
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ. คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดา
และพระธัมมทินนา โพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นกกุธะ ต้นกุ่ม พระสรีระสูง 80
ศอก พระชนมายุเก้าหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา พระ
โอรสพระนามว่า พระกัญจนาเวฬะ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีศาสดา ทรงมีพระนคร ชื่อว่าสุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ พระชนนีพระ
นามว่า พระนางจันทา.
พระปิยทัสสีศาสดา มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระ
ปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า
พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสุชาดา และ พระ
ธัมมทินนาโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเรียกว่า ต้นกกุธะ.